ข้อมูลวิทยาลัย

พระบรมราโชวาท
การพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญยิ่งขึ้นไปนั้น ย่อมต้องพัฒนาบุคคลก่อนเพราะถ้าบุคคลอันเป็นองค์ประกอบของ
ส่วนรวมไม่ได้รับการ
พัฒนาแล้ว ส่วนรวมจะเจริญและมั่นคงได้ยากยิ่ง การที่บุคคลจะพัฒนาได้ ก็ด้วยปัจจัยประการเดียวคือ การศึกษา
การศึกษานั้นแบ่งเป็นสองส่วน คือ การศึกษาด้านวิชาการส่วนหนึ่งกับการอบรมบ่มนิสัยให้เป็นผู้มีจิตใจใฝ่ดีใฝ่เจริญ
มีปรกติละอายชั่วกลัวบาป ส่วนหนึ่งการพัฒนาบุคคลจะต้องพัฒนาให้ครบทั้งสองส่วน เพื่อให้บุคคลมีส่วน เพื่อให้บุคคล
ได้มีความรู้ไว้ใช้อำนวยผลประโยชน์ที่พึงประสงค์

พระบรมราโชวาท
ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2540

วิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่ง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ในพื้นที่ธรณีสงฆ์
วัดรางวาลย์ บ้านทุ่งทอง หมู่ที่ 3 ตำบลลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ในเนื้อที่ทั้งหมด 50 ไร่ มีประวัติความ
เป็นมา ดังนี้
    กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีนโยบายให้กรมอาชีวศึกษา จัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพระดับอำเภอในแผนพัฒนาอาชีวศึกษา
ระยะที่ 7 (2535 – 2539) จำนวน 60 แห่ง จังหวัดราชบุรี เป็นจังหวัดหนึ่ง ในเป้าหมายการจัดตั้งวิทยาลัยดังกล่าว กรมอาชีว
จึงมีหนังสือขอความร่วมมือไปยังคณะกรรมการอาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรี เพื่อช่วยดำเนินการเสาะหาที่ดินสำหรับจัดตั้ง
วิทยาลัยการอาชีพระดับอำเภอในจังหวัดราชบุรี
    ในการนี้ คณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรี ได้หมอบหมายให้ นายวิเชียร ตันตระเสนีย์ เป็น ผู้ประสานงาน
โครงการจัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพจังหวัดราชบุรีและดำเนินการเสาะหาที่ดินในอำเภอต่างๆ ที่มีความเหมาะสมและอยู่ในเกณฑ์ตามกำหนดสำหรับการจัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา โดยได้รับการสนับสนุนทั้งในด้านการดำเนินการ และคำปรึกษาจาก นายอัมพร ภักดีชาติ ผู้อำนวยการกองการศึกษาอาชีพ (ตำแหน่งในขณะนั้น) นายไพศาล จริตพจน์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่งวิทยาลัยสารพัดช่างราชบุรี (ตำแหน่งในขณะนั้น) นายเผดิมชัย ศรีวิเชียรผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคราชบุรี ในฐานประธารกรรมการ อาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรี และ(ตำแหน่งในขณะนั้น)แล้วได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐบาลและเอกชนในแต่ละละอำเภอเป็นอย่างดี เช่นผู้ว่าราชการ จังหวัดราชบุรี (ม.ร.ว.กำลูนเทพ เทวกุล) นายอำเภอบ้านโป่ง (นายบวร รัตนประสิทธิ์) ศึกษาธิการอำเภอบ้านโป่ง (นายสุปิติ ขุนภักดี) กำนันตำบลลาดบัวขาว (นายบุญชู แพทย์รอบรู้) เป็นต้น ที่ดินที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุด ได้แก่ ที่ธรณีสงฆ์ วัดรางวาลย์ ในอำเภอบ้านโป่ง ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากพระครูพิบูลธรรมโกสล (พระอธิการฉลาด อติพโล มสณศักดิ์ในขณะนั้น) เจ้าอาวาสวัดรางวาลย์ ยินดีอนุญาตให้กรมอาชีวศึกษาใช้เป็นสถานที่จัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่ง และกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศได้ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2537 ได้งบประมาณในการก่อสร้าง ปี 2539 และได้ดำเนินการสอนในระดับ ปวช. ในปีการศึกษา 2541 เป็นต้นมา